สุดช็อค! ยกเหล็กไทยแถลงการณ์ไม่ส่งโอลิมปิก2020
กีฬา
ต่อมา ไอดับเบิ้ลยูเอฟ ได้ประสานกับแผนกข้อมูลประจำตัวนักกีฬา และตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมเฉพาะประเทศไทย โดยใช้เทคนิคที่มีความซับซ้อนมากขึ้น และแจ้งว่าตรวจพบสารต้องห้ามในนักกีฬาดังกล่าว จากนั้นสมาคมฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงสามารถอธิบายกับสาธารณชนได้ แม้ว่าจะยังไม่ตรวจสอบในสารตัวอย่างในขวด บี ก็ตาม
สมาคมฯ คำนึงถึงความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการบริหารของสมาคมฯ จะไม่ได้เป็นผู้กระทำก็ตาม สมาคมฯ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สร้างนักกีฬาให้ได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันในระดับนานาชาติสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้กับประเทศชาติมาเป็นระยะเวลายาวนาน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของสมาคมและประเทศไทย จึงขอประกาศเจตนารมณ์ ดังนี้
1. สมาคมฯ จะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
2. สมาคมฯ จะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2020 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการแข่งขันเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันทุกรายการ
3. เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศไทยและต่อมวลสมาชิกของ ไอดับเบิ้ลยูเอฟ สมาคมฯ จะยังคงยืนยันรับเป็นผู้รับผิดชอบจัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งโลก ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 18-27 ก.ย. ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ในนามของประเทศไทยต่อไป โดยไม่ส่งนักกีฬาไทยเข้าร่วมการแข่งขัน
สำหรับทีมยกน้ำหนักไทย เป็นทีมกีฬาที่ทำผลงานให้ทัพไทยได้ดีที่สุดในโอลิมปิกเกมส์ คว้ามาแล้ว 5 เหรียญทอง, 2 เหรียญเงิน และ 7 เหรียญทองแดง ขณะที่อีก 2 กีฬา ที่ได้เหรียญจากโอลิมปิก คือ มวยสากลสมัครเล่น 4-4-6, เทควันโด 0-2-3โดยจอมพลังไทย ที่ได้เหรียญคนแรกคือ "เกด" เกษราภรณ์ สุตา เหรียญทองแดงโอลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2000 ที่ซิดนีย์ จากนั้นปี ค.ศ.2004 ที่เอเธนส์ "น้องอร" อุดมพร พลศักดิ์ คว้าเหรียญทองเหรียญแรก ส่วนอีก 4 คน ที่ได้เหรียญทองคือ ปวีณา ทองสุก (2004), ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล (2008) และล่าสุด โสภิตา ธนสาร, สุกัญญา ศรีสุราช (2016).
(แฟ้มภาพ GETTY IMAGE)